เจ้าบางแสน - Jao Bangsaen
-
ลักษณะเด่น : วาฬหลังค่อมแห่งอ่าวไทยตอนบน โคนครีบหลังเป็นรอยแหว่างเล็กน้อยรูปตัว V/ ปลายหางด้านซ้ายเป็นแผลใหญ่
-
ประวัติ : เป็นวาฬที่ได้รับการติด Satellite Tag เมื่อ 23 ก.ย.2558 เก็บเนื้อเยื่อได้ เมื่อ 22 ต.ค. 2557
และเคยกระโดด (Breaching ) เมื่อ 21 มิถุนายน 2559 -
พบครั้งแรก : 23ก.ย.2556 ( ThaiWhales )/20ก.ย.2551 (ศวทบ.)
-
หมายเหตุ
โดยทั่วไปการระบุตัววาฬมีจุดสังเกตที่ครีบหลังเป็นสำคัญ เพราะเป็นส่วนที่โผล่พ้นน้ำทุกครั้งที่หายใจ ส่วนตำหนิหรือร่องรอยบนตัวมีทั้งที่ถาวรและที่จางหายไปได้ ลักษณะครีบหลังทรงต่างๆ ที่กลุ่มวาฬไทยใช้สังเกตเพื่อจำแนกวาฬแต่ละตัว (เป็นการกำหนดกันเองในกลุ่มวาฬไทย ไม่สามารถอ้างอิงตามหลักวิชาการ)
1 ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า เช่น แม่สาคร เจ้าสมุทร แม่ข้าวเหนียว
2 ทรงมาตรฐาน ได้สัดส่วน ปลายมน (ครีบหลังโค้ง เว้า ปลายมน) เช่น เจ้าสุขใจ เจ้าตึก เจ้าวันชัย
3 ทรงมาตรฐาน ได้สัดส่วน ปลายแหลม (ครีบหลังโค้ง เว้า ปลายแหลม) เช่น แม่วันดี แม่กันยา
4 ทรงยาวรูปคล้ายฝักดาบ ปลายมน (ศัพท์พี่จำรูญ และน้องตอง) เช่น แม่สมหวัง
5 ทรงยาวรูปคล้ายฝักดาบ ปลายแหลม (ศัพท์พี่จำรูญ และน้องตอง) เช่น แม่ทองดี
6 ทรงมาตรฐาน แต่ ปลาย แบนราบ ชี้ขึ้น หรือ หักลง เช่น แม่ตองอ่อน แม่วันสุข
* ข้อสังเกต ในวาฬตัวลูก อายุแรกเกิด - ประมาณ 1 ปี ครีบหลังมักจะเอนไปด้านใดด้านหนึ่ง และทรงครีบยังเปลี่ยนแปลงได้