แม่จะเอ๋ - Mae Ja-A
-
ลักษณะเด่น : ครีบหลังโค้งเว้า ปลายแหลม มีรอยแหว่งเป็นรูปตัว V ที่ฐานครีบ /มีรอยแผลเป็นรอบปลายปากบน มีรอยนูนใหญ่ด้านบนกลางลำตัว
-
ประวัติ : เป็นวาฬที่เราพบตั้งแต่ช่วงแรกๆของการสำรวจ มีพฤติกรรมการกิน ที่น่ารักโดดเด่น คือ ชอบขึ้นอ้าปากงับๆ หลายครั้ง (นับได้เกิน 10 ครั้ง) แม่จ๊ะเอ๋ เป็นแม่ของ เจ้าตึก ( ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.กาญจนา อดุลยานุโกศล ผู้ริเริ่มการศึกษาวาฬบรูด้าในประเทศไทย ) และเจ้าหนึ่ง
-
พบครั้งแรก : 24 ก.ค. 2554 (ThaiWhales) / 4 พ.ย. 2553 (ศวทบ.)
-
หมายเหตุ
โดยทั่วไปการระบุตัววาฬมีจุดสังเกตที่ครีบหลังเป็นสำคัญ เพราะเป็นส่วนที่โผล่พ้นน้ำทุกครั้งที่หายใจ ส่วนตำหนิหรือร่องรอยบนตัวมีทั้งที่ถาวรและที่จางหายไปได้ ลักษณะครีบหลังทรงต่างๆ ที่กลุ่มวาฬไทยใช้สังเกตเพื่อจำแนกวาฬแต่ละตัว (เป็นการกำหนดกันเองในกลุ่มวาฬไทย ไม่สามารถอ้างอิงตามหลักวิชาการ)
1 ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า เช่น แม่สาคร เจ้าสมุทร แม่ข้าวเหนียว
2 ทรงมาตรฐาน ได้สัดส่วน ปลายมน (ครีบหลังโค้ง เว้า ปลายมน) เช่น เจ้าสุขใจ เจ้าตึก เจ้าวันชัย
3 ทรงมาตรฐาน ได้สัดส่วน ปลายแหลม (ครีบหลังโค้ง เว้า ปลายแหลม) เช่น แม่วันดี แม่กันยา
4 ทรงยาวรูปคล้ายฝักดาบ ปลายมน (ศัพท์พี่จำรูญ และน้องตอง) เช่น แม่สมหวัง
5 ทรงยาวรูปคล้ายฝักดาบ ปลายแหลม (ศัพท์พี่จำรูญ และน้องตอง) เช่น แม่ทองดี
6 ทรงมาตรฐาน แต่ ปลาย แบนราบ ชี้ขึ้น หรือ หักลง เช่น แม่ตองอ่อน แม่วันสุข
* ข้อสังเกต ในวาฬตัวลูก อายุแรกเกิด - ประมาณ 1 ปี ครีบหลังมักจะเอนไปด้านใดด้านหนึ่ง และทรงครีบยังเปลี่ยนแปลงได้