โลกร้อนทำพิษ โลมาป่วยโรคผิวหนัง อันตรายถึงชีวิต เหตุพายุถี่-น้ำจืดรุกน้ำเค็ม
  • Game
  • Facebook
  • YouTube
ThaiWhales
  • Photo ID*
    • Timeline
    • Profile
  • NEWS
    • Local
    • International
    • Knowledge
  • Diary
  • Article
  • Whale's Tale
  • The Last 14
  • About Us
    • What We Do
    • Who We Are

News

  • Home
  • โลกร้อนทำพิษ โลมาป่วยโรคผิวหนัง อันตรายถึงชีวิต เหตุพายุถี่-น้ำจืดรุกน้ำเค็ม

    Share

โลกร้อนทำพิษ โลมาป่วยโรคผิวหนัง อันตรายถึงชีวิต เหตุพายุถี่-น้ำจืดรุกน้ำเค็ม

โลมาเหล่านี้ต้องเผชิญกับโรคผิวหนังที่เกิดขึ้น ทำให้โลมาเกิดรอยเหมือนแผลพุพองหรือแผลเน่าเปื่อย สามารถพบได้ครอบคลุมบริเวณผิวหนังประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย ซึ่งโรคนี้เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นบนโลก

ทั้งนี้หัวหน้านักวิจัย และอาจารย์ด้านพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเมอร์ด็อกได้กล่าวว่าแผลที่โลมาเหล่านี้ต้องพบเทียบเท่ากับแผลไฟไหม้ระดับที่สามในมนุษย์ ซึ่งเป็นอาการบาดเจ็บที่น่ากลัว และอาจทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว  แผลเหล่านี้จะฆ่าโลมาในที่สุด เพราะจะทำให้อิเล็กโทรไลต์หยุดชะงักในกระแสเลือดของโลมา และสุดท้ายพวกมันก็จะตายจากการล้มเหลวของอวัยวะ

โรคลึกลับดังกล่าว ถูกเรียกว่า  Fresh Water Skin Disease  หรือโรคผิวหนังน้ำจืด ซึ่งส่งผลกระทบต่อโลมา และทำให้พวกมันทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก นักวิจัยพบโรคนี้ครั้งแรกในโลมาปากขวด 40 ตัวในเมืองนิวออร์ลีนส์รัฐลุยเซียนาในปี 2548 หลังจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าโรคผิวหนังที่ร้ายแรงนี้ได้คร่าชีวิตโลมานับตั้งแต่พายุเฮอริเคนแคทรีนาและในที่สุดพวกเขาก็พบต้นตอของปัญหานี้

และการศึกษาใหม่ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในรายงานทางวิทยาศาสตร์ได้ให้คำจำกัดความกรณีแรกสำหรับโรค เกิดขึ้นหลังจากการระบาดในหลุยเซียน่า มิสซิสซิปปี แอละแบมา เท็กซัส ฟลอริดาและออสเตรเลีย แต่มันยังไม่จบแค่นั้น เพราะฤดูพายุเฮอริเคนในอ่าวเม็กซิโกในปีนี้ที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และพายุที่รุนแรงขึ้นทั่วโลกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแพร่ระบาดที่ร้ายแรงที่คร่าชีวิตโลมาจะเกิดมากขึ้นกว่านี้แน่นอน

นักวิจัยจาก The Marine Mammal Center ในเมืองซอซาลิโต รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นผู้ทำการศึกษาพบว่าในทุกสถานที่ที่ระบุไว้พบว่าระดับความเค็มในน่านน้ำดังกล่าวลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งโลมาชายฝั่งแม้เคยชินกับการเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือ แต่มันก็ไม่สามารถอยู่ในน้ำจืดได้อยู่ดี

ทั้งนี้เว็บไซต์ทางวิทยาศาสตร์ชื่อดัง Phys.org ระบุว่าน้ำทะเลชายฝั่งค่อยๆ เปลี่ยนเป็นน้ำจืดเนื่องจากมีพายุฝนเฮอริเคน และไซโคลนบ่อยครั้งทำให้มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าที่เป็นมา และก่อนที่จะเกิดพายุใหญ่ชายฝั่งยังเกิดภาวะแห้งแล้งหนัก ปัจจัยเหล่านี้ทำให้น้ำจืดไหลลงทะเลปริมาณมากผิดปกติ และทำให้ความเค็มลดลง


ในแถลงการณ์ของหัวหน้าพยาธิแพทย์ของ The Marine Mammal Center กล่าวว่า  โรคผิวหนังที่ร้ายแรงนี้ได้คร่าชีวิตโลมา ครั้งตั้งแต่เกิดพายุเฮอริเคนแคทรีนา และเรายินดีที่จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาดังกล่าว ด้วยฤดูพายุเฮอริเคนในอ่าวเม็กซิโกในปีนี้ และการเกิดพายุที่รุนแรงมากขึ้นทั่วโลก อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราจะได้พบกับการระบาดที่ร้ายแรง และโรคเหล่านี้ทจะคร่าชีวิตโลมาอีกหลายชีวิต

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญยังให้ความหวังเล็กน้อยกับวิธีป้องกันไม่ให้โลมาต้องทรมานไปมากกว่านี้ โดยกล่าวว่าอุณหภูมิของมหาสมุทรที่ร้อนขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลทั่วโลก แต่เมื่อใช้ข้อมูลจากการศึกษานักวิทยาศาสตร์ เราจะสามารถหาวิธีบรรเทาโรคที่เกิดกับโลมาและป้องกันไม่ให้พวกมันติดโรคมากขึ้นได้ และที่สำคัญคือการค้นพบนี้จะกระตุ้นให้เราต้องต่อสู้กับโลกร้อนอย่างแข็งขันมากขึ้นด้วย



23 December 2020 ที่มา Khaosod

Categories

  • ข่าววาฬในไทย
  • ข่าววาฬต่างประเทศ
  • ข่าวความรู้

© 2016 ThaiWhales All Rights Reserved.